วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 3

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ welcome

วันอังคาร ที่ 23 มกราคม พ.ศ.2561

   สำหรับการเรียนการสอนในครั้งนี้นั้น เป็นการเริ่มต้นของ บทที่ 2 : ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์

 

ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmond Freud) 

เป็นนักจิตวิทยาชาวออสเตรียที่มีความเชื่อว่าพัฒนาการบุคลิกภาพของคนขึ้นอยู่กับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางด้านสรีระ หรือที่เขาเรียกว่าแรงขับโดยสัญชาติญาณ


โครงสร้างหลักของบุคลิกภาพ

อิด (Id) หมายถึง พลังหรือแรงผลักที่มีมาแต่กำเนิด เป็นสันดานดิบของมนุษย์ที่มีแต่ความต้องการสนองสนองแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงสิ่งใด ฟรอยด์เห็นว่าแรงผลักชนิดนี้มีอยู่ในทารก

อีโก้ (Ego) เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างบุคลิกภาพที่ได้มีการคิดรวบรวมข้อมูลต่างๆ และมีการวางแผน การรู้จักรอคอย ร้องขอหรืออื่น ๆ เพื่อให้ได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ต้องการ


ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่คอยควบคุมหรือปรับการแสดงออกของอิดและอีโก้ให้สอดคล้องกับเหตุผลความถูกผิด คุณธรรมหรือจริยธรรม

 *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* 

ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตสังคมของอีริคสัน


อีริค อีริคสัน (Erik H. Erikson) 
เป็นนักจิตวิทยา  พัฒนาการที่มีชื่อเสียงและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากมีแนวคิดว่าวัยเด็กเป็นวัยที่สำคัญและพร้อมเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว

ขั้นพัฒนาการตามทฤษฎีของอีริคสัน
ขั้นที่ 1 ความรู้สึกไว้วางใจ กับความรู้สึกไม่ไว้วางใจ(Trust versus Mistrust) ช่วงแรกเกิด – 1 ปี
ขั้นที่ 2 ความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง กับความละอายใจและไม่แน่ใจ (Autonomy versus Doubt or Shame) ช่วง 1 – 2 ปี
ขั้นที่ 3 การมีความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiativeversus Guilt) ช่วง 3 – 6 ปี

“ทฤษฎีพัฒนาการทางบุคลิกภาพของอีริคสันได้แสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคล ตั้งแต่ทารกจนถึงวัยสูงอายุทำให้เป็นแนวทางสำ คัญในการอบรมเลี้ยงดูเด็กโดยเฉพาะในวัยทารก ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป…”

 *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* 

ทฤษฎีวุฒิภาวะของกีเซล

อาร์โนลด์ กีเซล (Arnold Gesell) 

เป็นนักจิตวิทยาที่มีความเชื่อในเรื่องของความเจริญเติบโตตามวุฒิภาวะ โดยกล่าวว่า
 “วุฒิภาวะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

อย่างมีระเบียบ โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าภายนอก”

 *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* 

ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้คิดของเพียเจท์



ฌอง เพียเจท์ (Jean Piaget)

 นักจิตวิทยาชาวสวิส ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กและพัฒนาการทางสติปัญญา



ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้ของเพียเจท์

ขั้นที่ 1 ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว
(Sensorimotor Stage) อายุแรกเกิด – 2 ปี

ขั้นที่ 2 ขั้นก่อนการคิดอย่างมีเหตุผล (Preoperational Stage) อายุ 2 – 7 ปี แบ่งเป็นสองระยะ

💙ยะที่ 1 ขั้นก่อนความคิดรวบยอด (Preconceptual Thought) อายุ 2 – 4 ปี

💙ยะที่ 2 ขั้นคิดได้เองโดยไม่รู้เหตุผล (Intuitive Thought)อายุ 4 – 7 ปี

 *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* 

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก

ลอเรนซ์ โคลเบิร์ก  (Lowrence Kohlberg) 
เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ศึกษาค้นคว้าทางด้านพัฒนาการทางจริยธรรม ซึ่งได้รับอิทธิพลความคิดและผลงานมาจากเพียเจท์


ขั้นพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก
ระดับขั้นที่ 1 Premoral หรือ Preconventional
วัย 2 – 10 ปี มี 2 ระยะ
ระยะที่ 1 การหลบหลีกการถูกลงโทษ ช่วงอายุ 2 – 7 ปี
ระยะที่ 2 การแสวงหารางวัล ช่วงอายุ 7 – 10 ปี

 *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* 

ทฤษฎีพัฒนาการทางความคิดความเข้าใจของบรุนเนอร์

เจอโรม บรุนเนอร์ (Jerome.S.Bruner) 

ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางการคิดและใช้เหตุผล (Cognitive) โดยอาศัยแนวคิดของเพียเจท์เป็นหลัก


พัฒนาการทางความคิดความเข้าใจ เกิดจากสิ่งต่อไปนี้

💜ให้เด็กทำสิ่งต่างๆ อย่างมีอิสระมากขึ้น
💜การเรียนสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ
💜 พัฒนาการทางความคิด
💜 ผู้สอนและผู้เรียนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีระบบ
💜 ภาษาเป็นกุญแจของการพัฒนาด้านความคิด
💜 การพัฒนาทางความคิด

 *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* 

ก่อนจะจากคาบเรียนนี้กันไป อ.บาส ก็มีตัวอย่างครอบครัว 2 แบบ จากรายการฟ้ามีตา มาให้นักศึกษาได้ลองวิเคราะห์กัน ดังคลิป VDO ต่อไปนี้





ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียนและช่วยแสดงความคิดเห็นมากค่ะ

ประเมินเพื่อน เพื่อนๆนักศึกษาให้ความสนใจ และตั้งใจเรียนมาก

ประเมินอาจารย์ อ.บาสสอนสนุกและมีคลิปมาให้นักศึกษาดูประกอบการเรียนทำให้ไม่น่าเบื่อ

ʕ ·ᴥʔ ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog ของดิฉัน ʕᴥ· ʔ

✿♥‿♥✿ หวังว่า Blog วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ของดิฉัน 

จะสามารถเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่านนะคะ ✿♥‿♥✿


การเรียนการสอนครั้งที่ 2

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ welcome
วันอังคาร ที่ 16 มกราคม พ.ศ.2561

   การเรียนการสอนในวันนี้ อ.บาสได้ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดก่อนเรียน เพื่อเป็นการวัดระดับความเข้าใจของนักศึกษา การตอบคำถามนั้นจะใช้ความเข้าใจของตัวนักศึกษา จากนั้นจึงจะเริ่มเข้าเนื้อหาในวันนี้
   การเข้าเนื้อหาวันนี้ บทที่ 1 : ทฤษฎีพัฒนาการกับเด็กปฐมวัย จะพูดเกี่ยวกับ ความหมาย ความสำคัญ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

   เด็กปฐมวัยหมายถึง?

ความสำคัญของเด็กปฐมวัย

พัฒนาการหมายถึง?

                                                                                                                                                                 

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย


และจบการเรียนการสอนด้วยการชมคลิป VDO การปฎิสนธิและการทำคลอด





ประเมินตนเอง ในการครั้งเรียนหนูตั้งใจเรียนเป็นอย่างมาก มีหลายหลากอารมณ์ที่ต้องรับทั้งน่ากลัว ทั้งหวาดเสียว ทั้งตลกอ.บาส เป็นการเรียนที่น่าสนใจมากค่ะ



ประเมินเพื่อน ตั้งใจดู VDO ที่อ.บาสต้องการนำเสนอ ตั้งใจเรียนและทำแบบฝึกหัดกันอย่างใจจดใจจ่อ



ประเมินอาจารย์ อ.บาสสอนได้สนุกไม่ได้เบื่อ มีการยิงมุกตลอดเวลา เพื่อให้เด็กอยากเรียนมากขึ้น อธิบายเนื้อหาเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้นค่ะ 




 ʕ ·ᴥʔ ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog ของดิฉัน ʕᴥ· ʔ

✿♥‿♥✿ หวังว่า Blog วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ของดิฉัน 



จะสามารถเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่านนะคะ ✿♥‿♥✿


การเรียนการสอนครั้งที่ 1

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ welcome
วันอังคาร ที่ 9 มกราคม พ.ศ.2561


   การเรียนการสอนสำหรับวันนี้เป็นการเรียนวันแรกสำหรับวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย อาจารย์ผู้สอนรายวิชานี้ คือ อาจารย์กฤตธ์ตฤนน์ ตุ๊หมาด อาจารย์ได้พูดถึงหัวข้อที่ต้องเรียนในรายวิชานี้ ว่าเราต้องเรียนแบบไหน เรื่องอะไร และมีการทำกิจกรรมอะไรบ้างตลอดการเรียนการสอน 1 เทอมนี้ และในวันนี้อาจารย์ได้สั่งการบ้านเล็กๆชิ้นหนึ่ง คือ หาบทความเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย เพื่อนำมา Present ในสัปดาห์ที่ 3 ของการเรียน


   ใบ Check การเข้าเรียน หากนักศึกษาคนไหนที่เข้าเรียนตรงเวลาก็จะได้ปั้มไก่เขียว หากใครมาสายจะได้ปั้มเสือแดงแทน หากไม่เข้าเรียนก็จะไม่ได้ปั้มเลย และหากใครเข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆ หรือทำดีก็จะได้ปั้มดาวลงไปในช่องดาวเด็กดี


ประเมินตนเอง      ในการเรียนการสอนนี้หนูไม่ได้เข้าเรียนต้องขออภัยอาจารย์เป็นอย่างสูงนะคะ

ประเมินเพื่อน        เพื่อนตั้งใจฟังในคาบเรียนมากค่ะ ทำให้สามารถนำมาเล่าต่อให้หนูฟังได้อย่างเข้าใจ จนสามารถนำมาเขียน Blog ได้

ประเมินอาจารย์    อาจารย์อธิบายถึงเรื่องที่จะเรียนได้อย่างละเอียด จนเพื่อนๆเข้าใจสามารถมาเล่าต่อได้



*** เนื่องจากการเรียนการสอนคาบแรกนี้ตัวหนูติดธุระจึงไม่ได้เข้าเรียน การทำBlogครั้งนี้จึงผ่านการรับฟังผ่านเพื่อนนักศึกษาในเซคที่เข้าเรียนค่ะ จึงขออภัยหากไม่มีรูปประกอบ***


ʕ ·ᴥʔ ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog ของดิฉัน ʕᴥ· ʔ

✿♥‿♥✿ หวังว่า Blog วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ของดิฉัน 

จะสามารถเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่านนะคะ ✿♥‿♥✿

การเรียนการสอนครั้งที่ 12

วันอังคาร ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2561       สำหรับการเรียนสอนในสัปดาห์สุดท้ายของวิชา การอมรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย เป็น การเรียน Cooking ท...