วันอังคาร ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561
สำหรับการเรียนในสัปดาห์นี้ อยู่ในหัวข้อเรื่อง " แนวทางการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ "
ความหมายของสิ่งแวดล้อม
- สิ่งแวดล้อมภายในตัวบุคคล ( Implicit Environment ) ได้แก่ การทำงานของระบบต่างๆของร่างกาย เช่น ระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบไร้ท่อ เป็นต้น
- สิ่งแวดล้อมภายนอก ( Explicit Environment ) ได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกกายของมนุษย์ เช่น วัตถุสิ่งของ คน พืช สัตว์ กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดจากคนและสัตว์ รวมไปถึงสิ่งที่เป้นนามธรรม ได้แก่ ศีลธรรมจรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณีในสังคมด้วย
*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*
ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมม
สิ่งแวดล้อมมีความหมายและความสำคัญต่อเด็กเล็ก คือ เด็กได้รับการฝึกอบรมให้รู้จักบทบาทต่างๆในสังคม ทั้งในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ไปพร้อมๆกัน กระบวนการของการอบรมให้คนเป็นสมาชิกของสังคมนั้น จะขึ้นอยู่กับเจตคติ ความคาดหวัง และค่านิยมของสังคมที่คนๆนั้นเกี่ยวข้องด้วย
*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*
ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
- ประสบการณ์ที่เด็กจะได้รับจากการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน
- ประสบการณ์ที่ได้จากการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว
- ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากสัมพันธภาพทางสังคม
- ประสบการณ์ที่ได้รับความสะเทือนใจมาตั้งแต่วัยเด็ก
*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*
 |
ตัวอย่างการจัดมุมประสบการณ์ในห้องเรียน |
การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในเด็กปฐมวัย
ความหมายของคำว่า จริธรรม ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้
" จริยธรรม คือ หลักแห่งการประพฤติ ปฎิบัติที่ดี ที่เหมาะที่ควร "
" จริยธรรม คือ หลังคำสอนที่ว่าด้วยแนวทางการประพฤติที่เป็นหลักการและเป็นที่ยอมรับนับถือ "
*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*
ทฤษฏีจริธรรมตามแนวคิดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรม
โคลเบอร์ก
เป็นนักจิตวิทยาที่อธิบายถึงจริยธรรมของคนที่พัฒนาขึ้นไปพร้อมๆกับความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
- ระดับก่อนกฎเกณฑ์ เด็กปฐมวัยจึงตัดสินถูกผิดจากความรู้สึกของตนเอง และตามกฎเกณฑ์ที่ผู้อื่นกำหนด แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 : การหลีกเลี่ยงการลงโทษและการทำตามคำสั่ง เด็กวัยนี้จะประพฤติตนตามกฎเกณฑ์ต่างๆ เพราะหลีกเลี่ยงการลงโทษความถูก ผิด ตัดสินโดยพิจารณาผล ถ้าถูกลงโทษถือว่าทำไม่ดี เด็กวัยนี้ยังไม่มีเหตุผลในการตัดสินใจทำสิ่งต่างๆ นอกจากปฎิบัติตามคำสอนของผู้ใหญ่
ขั้นตอนที่ 2 : การปฎิบัติเพื่อมุ่งหวังรางวัลส่วนตัว เด็กจะนำความต้องการของตนมากำหนดสิ่งที่ถูกและผิด ถ้าหากปฎิบัติสิ่งใดแล้วได้รางวัลก็ยึดถถือว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ดังนั้นการชมเชยและให้รางวัลเมื่อเด็กทำในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม จึงเป็นวิธีสอนจริยธรรม ความประพฤติให้กับเด็ก เนื่องจากเด็กยังไม่สามารถตัดสินใจสิ่งต่างๆได้ด้วยเหตุผลของตนเอง
*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*
สกินเนอร์
นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม เป็นผู้เสนอทฤษฎีที่มีความเชื่อว่าพฤติกรรมของคนเกิดจากการปฎิสัมพันธ์ทางสังคม ผลจากการแสดงพฤติกรรมนั้นจะเป็นตัวบ่งชี้ว่า พฤติกรรมนั้นจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นอีกหรือไม่ในสถานการณ์ที่คล้ายกับสถานการณ์เดิม ถ้าเกิดขึ้นอีกจะเรียกผลพฤติกรรมนั้นว่า " การเสริมแรงทางบวก " แต่ถ้าไม่เกิดขึ้นอีกเรียกผลของพฤติกรรมนั้นว่า " การลงโทษ " การอธิบายถึงการเรียนรู้ด้านจริยธรรมผ่านกระบวนการการเสริมแรงและการลงโทา หากเด็กแสดงพฤติกรรมที่ดีแล้วได้รับผลชมเชยยกย่อง คือ เด็กจะแสดงพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก แต่หากแสดงพฤติกรรมใดแล้วถูกลงโทษ เด็กจะระงับหรือหยุดการกระทำนั้นๆ ดังนั้นการเรียนรู้พฤติกรรมของเด็กจึงขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ที่ตัดสินว่า พฤติกรรมใดเป็นพฤติกรรมทางจริยธรรมที่เหมาะสม แล้วนำมาใช้ในการอบรมปลูกฝังเด็ก
*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*
แบนดูรา
นักจิตวิทยาสังคม อธิบายว่า พฤติกรรมส่วนใหญ่ของคนในสังคมเกิดจากการเรียนรู้ โดยสังเกตจากตัวแบบทั้งตัวแบบในชีวิตจริง หรือ ตัวแบบที่เป็นสัญลักษณ์ ทั้งนี้ตัวแบบจะทำหน้าที่ทั้งสร้างหรือพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรม และจะทำหน้าที่ในการระงับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เด็กปฐมวัยจึงเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมจากตัวแบบ ผู้ใหญ่และสังคมจึงเป็นตัวแบบที่เด็กดุสังเกตและลอกแบบ การสอนจริยธรรมในแนวคิดนี้คือ การสร้างและเลือกตัวแบบที่ดีให้เด็กได้สังเกต สำหรับกระบวนการในการพัฒนาการเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมตามแนวคิดนี้มี 4 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1: กระบวนการตั้งใจ เป็นการที่เด็กได้เห็นตัวแบบที่น่าสนใจ ดังนั้นตัวแบบจึงต้องแสดงพฤติกรรมจริยธรรมที่ชัดเจนไม่ซับซ้อน และเมื่อเด็กสนใจแสดงพฤติกรรมที่ดีจะต้องมีการเสริมแรง เพื่อให้เด็กเกิดพฤติกรรมซ้ำ
ขั้นตอนที่ 2 : กระบวนการเก็บจำ เมื่อเด็กสังเกตเห็นตัวแบบแสดงพฤติกรรมที่ดี และได้รับการยกย่องชมเชย และได้เห็นตัวแบบแสดงพฤติกรรมบ่อยๆ เด็กเกิดความสนใจต้องการแสดงพฤติกรรมเช่นเดียวกับตัวแบบ เด็กจะหาวิธีเก็บและจดจำข้อมูลการแสดงพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับสถานการณ์
ขั้นตอนที่ 3 : กระบวนการกระทำ เมื่อเด็กจดจำข้อมูลได้และเก็บไว้ในความคิดเมื่อเผชิญสถานการณ์ เด้กจะนำข้อมูลมาแสดงเป็นพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับพฤติกรรมของตัวแบบ เพื่อให้ได้ผลเหมือนตัวแบบ
ขั้นตอนที่ 4 : กระบวนการจูงใจ เมื่อเด็กสังเกตตัวแบบและจดจำข้อมูลไว้ และเมื่อเผชิญสถานการณ์ ถ้าหากมีการจูงใจและเด็กคาดว่าจะได้รับการเสริมแรง เด้กจะแสดงพฤติกรรมออกมา ดังนั้นถ้าหากเด้กแสดงพฤติกรรมดี จึงควรได้รับผลในลักษณะการเสริมแรงเหมือนตัวแบบได้รับการจูงใจ จึงเป็นสิ่งสนับสนุนให้เด็กแสดงพฤติกรรมจริยธรรม
*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*
บรรยากาศในห้องเรียน
ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์สอนมากกว่าวันอื่นๆเลยค่ะ ♥
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆนักศึกษาให้ความสนใจ และตั้งใจเรียนมาก
ประเมินอาจารย์ อาจารย์สอนสนุกมากค่ะ ทำให้เนื้อหาที่เรียนดูน่าสนใจ
ʕ ·ᴥʔ ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog ของดิฉัน ʕᴥ· ʔ
✿♥‿♥✿ หวังว่า Blog วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ของดิฉัน
จะสามารถเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่านนะคะ ✿♥‿♥✿